อะไรทำให้ Mitosis แตกต่าง?

ในตลาด DeFi ปัจจุบัน มีโปรโตคอลหลายตัวที่มุ่งเน้นการจัดการสภาพคล่องข้ามเชนและ (Liquid Restaking)
อย่างไรก็ตาม Mitosis มีจุดเด่นที่แตกต่างจากตัวอื่นๆ ได้แก่
- Multi-chain restaking: Mitosis อนุญาตให้ผู้ใช้เข้าร่วมการรีสเตคข้ามบล็อกเชนหลายเครือข่าย โดยไม่จำกัดอยู่แค่เครือข่ายเดียว เปิดโอกาสให้เข้าถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงและโอกาสในการลงทุนที่หลากหลาย \
- กลยุทธ์การจัดการสภาพคล่องอัตโนมัติ: ระบบ Matrix ของ Mitosis ใช้อัลกอริธึมในการปรับสมดุลสภาพคล่องระหว่างสินทรัพย์และแพลตฟอร์มโดยอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างผลตอบแทนและลดความเสี่ยงจากการจัดการด้วยตนเอง
Liquid Restaking คืออะไร?
สมมติคุณเอา ETH ไป stake กับ Ethereum คุณจะล็อกเหรียญไว้เพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยของเครือข่าย และคุณจะได้ดอกเบี้ย แต่ปัญหาคือ ETH ที่ stake ไปแล้ว คุณใช้อะไรไม่ได้เลย เพราะมันล็อกอยู่
Liquid Restaking คือ การ stake แล้วได้เหรียญแทนที่เรียกว่า LRT (Liquid Restaking Token) มาเหรียญนี้ทำหน้าที่เหมือนใบเสร็จว่า “คุณ stake อยู่แล้วนะ” ➜ แต่คุณสามารถเอาไปทำ DeFi ต่อได้ เช่น ฟาร์ม, กู้, แลกเปลี่ยน หรือแม้แต่ไป stake ซ้ำอีกรอบ (restake ได้อีก)
Restaking คืออะไรในที่นี้?
- แนวคิดจาก EigenLayer คือคุณสามารถเอา ETH ที่ stake อยู่แล้ว มาใช้ “ดูแลความปลอดภัยให้กับแอปอื่น” เพิ่มเติมได้อีก โดยไม่ต้องมี ETH ใหม่
- เช่น stake กับ Ethereum ➜ แล้ว restake ให้กับ dApp ต่างๆ ที่ต้องการ security
- คุณจะได้รางวัลเพิ่ม เพราะช่วยดูแลมากกว่าหนึ่งที่
แล้ว Mitosis อยู่ตรงไหนในโลกของ Liquid Restaking?
Mitosis ไม่ใช่คนออก LRT token เองแต่เป็น “ชั้นเชื่อมต่อ” หรือเราเรียกว่า Interoperability Layer สำหรับ LRT ที่ช่วยให้
- ผู้ถือ LRT (เช่น eETH, ezETH ฯลฯ)
- สามารถ ข้ามเชน ไปใช้งานในหลายๆ chain ได้ง่ายขึ้น
- และยัง จัดการสภาพคล่องให้แบบอัตโนมัติ โดยใช้แนวคิด Programmable Liquidity
คิดแบบง่ายๆ Mitosis คือ “ศูนย์กลางแลกเปลี่ยน + จัดการ LRT จากหลายแพลตฟอร์ม”
- เชื่อม LRT เข้ากับ Ethereum, Arbitrum, Celestia, ฯลฯ
- ให้คุณเอา LRT ไปใช้งานต่อใน DeFi ได้ โดยไม่ต้องย้ายเอง
สรุป
- Mitosis = ตัวช่วยจัดการและเคลื่อนย้าย LRT ข้ามเชน
- ไม่ใช่คู่แข่งกับโปรโตคอลที่ออกเหรียญ LRT แต่เป็น “ตัวเสริม” ให้ LRT ใช้งานได้ง่ายและคุ้มค่าขึ้น
- ใครที่ถือ LRT แล้วอยากทำ yield ต่อหลายที่ ➜ Mitosis คือทางผ่านที่ดี
Comments ()