Mitosis คืออะไร ? ฉบับเข้าใจง่าย
Mitosis คืออะไร ? ฉบับเข้าใจง่าย Mitosis คือโปรโตคอลที่ช่วยจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพของ สภาพคล่องข้ามเชน (Cross-Chain Liquidity) โดยเฉพาะสำหรับ Liquid Restaking Tokens (LRTs) และสินทรัพย์ในโลก DeFi ที่ต้องการถูกใช้งานในหลายเครือข่ายบล็อกเชนพร้อมกัน

ถ้าคุณมีเงินจำนวนนึง แล้วอยากนำไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยแต่เราไม่รู้ว่า “ธนาคารไหนดอกเบี้ยดีที่สุด” และ “แต่ละที่ให้ดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
Mitosis คือ “ผู้ช่วย” ที่จะเอาเงินของคุณไปกระจายฝากในธนาคารหลายๆ แห่ง โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณได้รับดอกเบี้ยสูงสุดตลอดเวลา และคุณยังสามารถนำใบเสร็จจากการฝากเงินไปใช้ต่อได้ โดยที่เงินนั้นยังฝากอยู่ได้ด้วย เพราะ Mitosis ยังให้คุณถือ “ใบเสร็จ” ที่เรียกว่า miAssets เอาไว้ ซึ่งคุณสามารถ เอาไปยืมเงิน หรือปล่อยกู้ใน DeFi ได้อีกต่อนึงด้วย
Mitosis ทำงานอย่างไร?
Cross-Chain Liquidity Management
- สินทรัพย์ที่ถูกฝากเข้าไปใน Mitosis Vaults จะถูกกระจายไปยังบล็อกเชนต่างๆ โดยอัตโนมัติเพื่อหาผลตอบแทนที่ดีที่สุด (optimal yield)
- ลดปัญหาการกระจายสภาพคล่อง (liquidity fragmentation) ที่เกิดจากการมีบล็อกเชนหลายเครือข่าย
รองรับ Liquid Restaking Tokens (LRTs)
- Mitosis รองรับ LRTs ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำสินทรัพย์ไปสเตคเพื่อรับรางวัล staking โดยไม่สูญเสียสภาพคล่อง
- LRTs สามารถนำไปใช้ต่อใน DeFi เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไร
miAssets (Mitosis Assets)
- เมื่อผู้ใช้ฝากสินทรัพย์เข้าไปใน Mitosis จะได้รับ miAssets ซึ่งเป็นโทเค็นที่แสดงถึงสัดส่วนสภาพคล่องของผู้ใช้
- miAssets สามารถนำไปใช้ในแอปพลิเคชัน DeFi อื่นๆ ได้ เช่น lending, farming, หรือ trading
Governance-Driven Liquidity Allocation
- ผู้ให้สภาพคล่อง (LPs) มีสิทธิ์ โหวต เพื่อกำหนดว่าควรจัดสรรสภาพคล่องไปยังเครือข่ายใด
- ช่วยให้ระบบมีความกระจายอำนาจ (decentralized) และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสภาพคล่อง
Key Feature
สรุป
Mitosis คือโปรโตคอลที่ช่วยจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพของ สภาพคล่องข้ามเชน (Cross-Chain Liquidity) โดยเฉพาะสำหรับ Liquid Restaking Tokens (LRTs) และสินทรัพย์ในโลก DeFi ที่ต้องการถูกใช้งานในหลายเครือข่ายบล็อกเชนพร้อมกัน
จุดเด่นของ Mitosis คือการสร้างระบบที่ให้ผู้ใช้ ฝากสินทรัพย์ไว้ที่เดียว แต่สามารถถูกนำไปใช้งานในหลายเชนได้อย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า Programmable Liquidity
Comments ()